ข้อมูลทั่วไป
 
ประวัติความเป็นมา วิสัยทัศน์ ตราสัญลักษณ์


  • อำเภอไชยา แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 ตำบล 54 หมู่บ้าน 2 เทศบาลตำบล (เทศบาลตำบลพุมเรียง และ เทศบาลตำบลตลาดไชยา) 7 องค์การบริหารส่วนตำบล
    1. สภาพทั่วไป องค์การบริหารส่วนตำบลปากหมาก
    1.1 ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลปากหมาก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากที่ว่าการอำเภอไชยา ประมาณ 23 กิโลเมตร มีอาณาเขตดังนี้
    ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลประสงค์ อำเภอท่าชนะ
    ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลปากฉลุย อำเภอท่าฉาง
    ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลโมถ่าย อำเภอไชยา
    ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบ้านนา อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง
    1.2 เนื้อที่ องค์การบริหารส่วนตำบลปากหมาก มีพื้นที่ในประมาณ 474.63 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 296,643.75 ไร่
    1.3 ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบเชิงเขาทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตกเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ของ สภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายเหมาะสำหรับการทำการเกษตร เช่น สวนเงาะ ทุเรียน ยางพารา
    1.4 สภาพภูมิอากาศ ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งทำให้มีช่วงฤดูฝนยาวนานและมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านทำให้ฤดูร้อนและฝนระยะเวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ฤดูฝนมีน้ำมากเกินไปและฤดูร้อนเกิดการ ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้ง
    1.5 ประชากร ประชากรทั้งสิ้นตามทะเบียนราษฎร์ 9,250 คน แยกเป็น ชาย 4,731 คน หญิง 4,519 คน และมีประชากรแฝงในสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า 1,000 คน ความหนาแน่นของประชากร โดยเฉลี่ย 20 คนต่อตารางกิโลเมตร อัตราเพิ่มของประชากร ร้อยละ 0.72

  • “ เศรษฐกิจดี สาธารณูปโภคครบครัน การบริหารจัดการที่ดี มีความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม
    ชุมชนเข้มแข็ง ครอบครัวอบอุ่น สังคมสันติสุข พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ "


    พันธกิจการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลปากหมาก

    1. สร้างระบบเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างสมดุล
    2. จัดให้แหล่งน้ำสำหรับการอุปโภค และบริโภคอย่างทั่วถึง
    3. พัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่ง ให้สะดวก
    4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ให้มั่นคง
    5. ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ลดอบายมุข พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีการกินดี อยู่ดี
    6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี ให้มีความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และประชาชน
    7. ส่งเสริมสุขภาพร่างกาย และจิตใจ ทุกเพศ วัย อย่างทั่วถึง
    8. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
    9. ส่งเสริมการอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

    จุดมุ่งหมายการพัฒนา

    1. เศรษฐกิจเติบโต สมดุล
    2. มีน้ำ อุปโภค บริโภคทั่วถึง
    3. การคมนาคมสะดวก โครงสร้างพื้นฐานมั่นคง
    4. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมสันติสุข
    5. การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ( Good Governance )
    6. ประชาชนสุขเพศ วัย มีสุขภาพดี
    7. มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์